วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่3 Firefox

Firefox



ประวัติ

       โครงการไฟร์ฟอกซ์ริเริ่มโดย เดฟ ไฮแอตต์ และ เบลก รอสส์ จากแนวความคิดการสร้างซอฟต์แวร์แยกย่อยมาจากโครงการมอซิลลา โดยตั้งใจพัฒนาโปรแกรมเดี่ยวที่ทำงานมุ่งเน้นสำหรับเป็นเว็บเบราว์เซอร์แยก ออกมาจากโปรแกรมชุดมอซิลลา (Mozilla Suite) โดยในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2546 มูลนิธิมอซิลลาได้ประกาศแผนการพัฒนามุ่งเน้นไปที่ไฟร์ฟอกซ์และทัน เดอร์เบิร์ดแทนที่โปรแกรมชุดมอซิลลา    ชื่อโครงการได้มีการเปลี่ยนชื่อ หลายครั้งกว่าจะมาเป็นไฟร์ฟอกซ์ ซึ่งเริ่มต้นที่ชื่อ "ฟีนิกซ์" (Phoenix) ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนภายหลังจากมีปัญหาในด้านเครื่องหมายการค้ากับบริษัท ฟีนิกซ์เทคโนโลยีผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ไบออส โดยเปลี่ยนมาเป็นชื่อ"ไฟร์เบิร์ด" (Firebird) และอีกครั้งได้มีปัญหาชื่อซ้ำซ้อนกับระบบจัดการฐานข้อมูลไฟร์เบิร์ด และในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ทางมูลนิธิมอซิลลาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งมาเป็น "ไฟร์ฟอกซ์" (Firefox) โดยใช้ชื่อย่อว่า Fx หรือ fx

                ไฟร์ฟอกซ์ 1.0 ได้เปิดให้ใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2547 โดยระหว่างนั้นได้มีการปรับแก้ตลอดเวลารวมถึงเพิ่มระบบความปลอดภัยให้กับตัว ซอฟต์แวร์ โดยรุ่นถัดมาคือ ไฟร์ฟอกซ์ 1.5 ที่ออกมาเมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548และตามมาด้วย ไฟร์ฟอกซ์ 2 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งในปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์ 3กำลังอยู่ในขั้นทดสอบ
             
                 ผู้นำโครงการ ปัจจุบันคือ เบน กูดเจอร์ (Ben Goodger - ปัจจุบันเป็นพนักงานของกูเกิล แต่ยังคงทำหน้าที่นี้อยู่) ปัจจุบันมีผู้ดาวน์โหลดไปมากกว่า 100 ล้านชุด และปริมาณการใช้ในแถบยุโรปสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศฟินแลนด์

                    Firefox เป็นเบราว์เซอร์ที่มีความคล่องตัวสูง – อนุญาตให้คุณตัดสินใจว่าอันไหนทำงานได้ดีที่สุดให้ใช้งานได้ง่ายดายและตั้งเว็บไซต์เดียวเป็นหน้าแรกของคุณ และตั้งค่าให้แค่คลิกปุ่มเดียวก็เข้าถึงเว็บไซต์ที่คุณโปรดปรานทั้งหมดได้อย่างตามใจปรารถนา และประหยัดเวลาโดยให้ Firefox จัดการเปิดสิ่งที่คุณค้างไว้เมื่อเริ่มโปรแกรม อันไหนล่ะที่ดีสำหรับคุณ? เอาเลยและลองบางสิ่งดูสักครั้งเลย

การตั้งเว็บไซต์เดียวเป็นหน้าแรก

1.เปิดเว็บไซต์ที่คุณอยากตั้งให้เป็นหน้าเริ่มต้นของคุณ
2.คลิกไอคอนที่อยู่ทางด้านซ้ายของที่อยู่เว็บค้างไว้ แล้วลากมาที่ปุ่มรูปบ้านแล้วปล่อย
3.คลิก ใช่ เพื่อตั้งเว็บไซต์นี้เป็นหน้าเริ่มต้น

ตั้งค่าเว็บไซต์หลายๆ เว็บไซต์เป็นหน้าแรก

1.เปิดหน้าต่างโปรแกรมใหม่ขึ้นมา และเปิดเว็บไซต์แรกที่คุณอยากตั้งเป็นหน้าแรก
2.คลิกที่ปุ่มเปิดแท็บใหม่และเปิดเว็บไซต์ต่อไปที่คุณอยากให้เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มหน้าแรก
ทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเปิดเว็บไซต์ที่คุณต้องการครบแล้ว
3.คลิกปุ่มเมนู New Fx Menu และเลือก ตัวเลือก
4.คลิกที่แผง ทั่วไป (Main ใน Firefox 3.5)
5.คลิกที่ ใช้หน้าปัจจุบัน 
6.คลิก ตกลง เพื่อปิดหน้าต่าง ตัวเลือก

กู้คืนหน้าเริ่มต้นเดิม

1.คลิกปุ่มเมนู New Fx Menu และเลือก ตัวเลือก
2.คลิกที่แผง ทั่วไป (Main ใน Firefox 3.5)
3.ในกล่องเริ่มการทำงานคลิก คืนสู่ค่าปริยาย 
ตั้งค่าว่าให้เปิดเว็บไหนเมื่อเริ่ม Firefox
คลิกปุ่มเมนู New Fx Menu และเลือก ตัวเลือก
คลิกที่แผง ทั่วไป (Main ใน Firefox 3.5)
ในกล่องเริ่มการทำงาน คลิกที่เมนูรายการที่อยู่ใกล้กับ "เมื่อ Firefox เริ่ม:" และเลือกว่าจะให้ Firefox แสดงอะไรเมื่อเปิดขึ้นมา
---แสดงหน้าแรก - แสดงหน้าแรกเมื่อเปิดขึ้นมา (หน้าแรกหน้าเดียว หรือ หลายหน้าก็แล้วแต่ที่คุณตั้ง).
---แสดงหน้าว่าง - แสดงหน้าตาที่ว่างโล่ง ไม่มีอะไร (โหลดเร็วที่สุด – ไม่ต้องเสียเวลาโหลดหลายแท็บ).
---แสดงหน้าต่างและแท็บจากครั้งก่อน - เปิดเว็บที่คุณเข้าชมล่าสุดจากการใช้ Firefox ครั้งล่าสุด ดังนั้นจึงสามารถดำเนินการต่อจากที่ค้างไว้ได้ ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่ Restore previous session - Configure when Firefox shows your most recent tabs and windows
4.คลิก ตกลง เพื่อปิดหน้าต่าง ตัวเลือก


อ้างอิงจาก : http://nipaporn106.blogspot.com/2012/09/mozilla-firefox.html ,

https://support.mozilla.org/th/kb/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99


วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 2


ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1.เว็บเบราเซอร์ (web browser) หมายถึงอะไร
ตอบ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ

เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์



2. การทำงานของเว็บเบราว์เซอร์
ตอบ 
การทำงานของบริการ WWW นี้จะมีลักษณะเช่นเดียวกันกับบริการอื่นๆ ของอินเทอร์เน็ต คืออยู่ในรูปแบบไคลเอ็นต์-เซิร์ฟเวอร์ (client - server) โดยมีโปรแกรมเว็บไคลเอ็นต์ (web client) ทำหน้าที่เป็นผู้ร้องขอบริการ และมีโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ โปรแกรมเว็บไคลเอ็นต์ก็คือโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (web browser) นั่นเอง สำหรับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นจะถูกติดตั้งไว้ในเครื่องของผู้ให้บริการเว็บไซต์ การิดต่อระหว่างโปรแกรมเว็บบราวเซอร์กับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์จะกระทำผ่านโปรโตคอล HTTP (Hypertext Transfer Protocol) 

กลไกการทำงานของเว็บเพจ
สำหรับเว็บเพจธรรมดาที่โดยปกติมีนามสกุลของไฟล์เป็น htm หรือ html นั้น เมื่อเราใช้เว็บบราวเซอร์เปิดดูเว็บเพจใด เว็บเซิร์ฟเวอร์ก็จะส่งเว็บเพจนั้นกลับมายังบราวเซอร์ จากนั้นบราวเซอร์จะแสดงผลไปตามคำสั่งภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ที่อยู่ในไฟล์




   จะเห็นได้ว่าเว็บเพจดังรูปเป็นเว็บเพจที่มีลักษณะ static กล่าวคือ ผู้ใช้จะพบกับเว็บเพจหน้าตาเดิมๆ ทุกครั้งจนกว่าผู้ดูแลเว็บจะทำการปรับปรุงเว็บเพจนั้น นี่คือข้อจำกัดอันมีต้นเหตุมาจากภาษา HTML ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้อธิบายหน้าตาของเว็บเพจ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ HTML สามารถกำหนดให้เว็บเพจมีหน้าตาอย่างที่เราต้องการได้ แต่ไม่ช่วยให้เว็บเพจมี "ความฉลาด" ได้

     การสร้างเว็บเพจที่มีความฉลาดสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน หนึ่งในนั้นก็คือ การฝังสคริปต์หรือชุดคำสั่งที่ทำงานทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (server-side script) ไว้ในเว็บเพจ



จากรูปเป็นการทำงานของเว็บเพจที่ฝังสคริปต์ภาษา PHP ไว้ (ขอเรียกว่า ไฟล์ PHP) เมื่อเว็บบราวเซอร์ร้องขอไฟล์ PHP ไฟล์ใด เว็บเซิร์ฟเวอร์จะเรียก PHP engine ขึ้นมาแปล (interpret) และประมวลผลคำสั่งที่อยู่ในไฟล์ PHP นั้น โดยอาจมีการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล หรือเขียนข้อมูลลงไปยังฐานข้อมูลด้วย หลังจากนั้นผลลัพธ์ในรูปแบบ HTML จะถูกส่งกลับไปยังบราวเซอร์ บราวเซอร์ก็จะแสดงผลตามคำสั่ง HTML ที่ได้รับมา ซึ่งย่อมไม่มีคำสั่ง PHP ใดๆ หลงเหลืออยู่ เนื่องจากถูกแปลและประมวลผลโดย PHP engine ที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ไปหมดแล้ว

     ให้สังเกตว่าการทำงานของบราวเซอร์ในกรณีนี้ไม่ต่างจากกรณีของเว็บเพจธรรมดาที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้เลย เพราะสิ่งที่บราวเซอร์ต้องกระทำคือ การร้องขอไฟล์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ จากนั้นก็รอรับผลลัพธ์กลับมาแล้วแสดงผล ความแตกต่างจริงๆ อยู่ที่การทำงานทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งกรณีหลังนี้ เว็บเพจที่เป็นไฟล์ PHP จะผ่านการประมวลผลก่อน แทนที่จะถูกส่งไปยังบราวเซอร์เลยทันที

     การฝังสคริปต์ PHP ไว้ในเว็บเพจ ช่วยให้เราสร้างเว็บเพจแบบ dynamic ได้ ซึ่งหมายถึงเว็บเพจที่มีเนื้อหาสาระและหน้าตาเปลี่ยนแปลงไปได้ในแต่ละครั้งที่ผู้ใช้เปิดดู โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่างๆ เช่น ข้อมูลที่ผู้ใช้ส่งมาให้ หรือข้อมูลในฐานข้อมูล เป็นต้น 

3. ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ มา 3 โปรแกรม
ตอบ
 1.Internet Explorer 

                                                   

2.Firefox





3.Google Chrome